วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทการสัมภาษณ์ studio

สวัสดีครับวันนี้ผมจะพาท่านผู้ที่เเวะเข้ามาเยี่ยมชม blog ของผมไปรู้จักกับสถาปนิกในดวงใจที่มีเเนวทางการทำงาน และ สไตล์เป็นของตัวเอง.........

ผมได้เริ่มรู้จักกับสถาปนิกผู้นี้ตอนผมอยู่ปี 1 ผมได้เจอสถาปนิกผู้นี้เเวะเข้ามาช่วยงานพี่ๆที่คณะสถาปัตยกรรมตอนทำงานวิทยานิพนธ์
หลังจากนั้นไม่นานก็ได้รู้ว่าสถาปนิกคนนนี้เป็นพี่รหัสของผมเอง จึงได้มาร่วมงานพูดคุยและเป็นที่ปรึกษาปัญหาด้านต่างๆ ผมจึงได้เล็งเห็นว่าสถาปนิกหนุ่มไฟแรงท่านนี้มีความน่าสนใจและสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนใคร ผมจึงเลือกที่จะไปสอบถามและพูดคุยด้วย
เริ่มบทสัมภาษณ์เลยเเละกันนะครับ

ผู้สัมภาษร์ : สวัดดีครับพี่โอวันนี้อยากจะรบกวนเวลาพี่สักครู่ไม่นานครับ

พี่โอ : ว่ามาเลยน้องระ

ผู้สัมภาษร์ : ผมขอทราบชื่อของพี่ก่อนคนที่เข้ามาอ่าน blog ของผมจะได้รู้จักชื่อของพี่

พี่โอ : นาย อรรจน์ กาญจนานุรักษ์
ชื่อเล่น โอ ครับ
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วประวัติด้านการศึกษา ของพี่หล่ะครับ
พี่โอ : มัธยมศึกษา สวนกุหลาบวิทยาลัย
อุดมศึกษา ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ปี 2547
กำลังศึกษา ระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วอะไรเป็นเหตุผลที่พี่เลือกเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกะบัง หล่ะครับ

พี่โอ : ตอน ม.4 พี่พยายามจะเอ็นทรานคณะแพทย์แต่พอดีว่าพีไม่ค่อยถนัดวิชา ชีววิทยา
ตอนม.5 เลยเปลี่ยนแนวทางความคิดว่าเป็นคณะวิศวะกรรมศาสตร์ แต่รู้ตัวเองว่าไม่ค่อยจะชอบวิชาเคมีมากนัก เเต่เก่งนะตอนเอ็นทรานซ์ สอบเคมีได้ 72เต็ม 100
แล้วก็ติด คณะสถาปัตยกรรมที่ ม.ขอนแก่น แต่ก็ไม่ได้ไปเรียนเพราะว่าตอนนั้นเป็นวัยรุ่น ติดเพื่อน
ตอนสุดท้ายก็เลยเลือกที่นี่แล้วมีโอกาศมาสอบสัมภาษณ์ เกิดหลงรักบรรยากาศของลาดกะบังก็เลยเลือกที่จะมาเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ลาดกะบัง

ผู้สัมภาษณ์ : พี่โอครับ แล้วพี่ทำงานอยู่ด้วยรึเปล่าครับ คือผมอยากทราบว่าพี่ผ่านประสบการณ์อะไรมาบ้างเพราะได้ข่าวว่าพี่เคยอกหักแล้วพี่หนีไปอยู่อเมริกามา
อะครับ


พี่โอ : ทำงานที่ เกาะลันตา งานควบคุมดูแลงานซ่อมแซมรีสอร์ท ที่ได้รับผลกระทบจากภัยภิบัติซึนามิ เป็นเวลา 3 เดือน
ทำงานในบริษัทออกแบบรับเหมาก่อสร้าง หจก.ชาญพิสุทธิ์ เป็นเวลา 2 ปี
เรียนภาษา และ ท่องเที่ยวหาประสบการณ์ นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 1 ปี


ผู้สัมภาษณ์ : อ๋อ ตกลงพี่ไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม ผมนึกว่าพี่โอไปรักษาตัว.........(มีข่าวมาว่าพี่เสียใจและผิดหวังในบางเรื่องและหนีไป).....มาซะอีก

พี่โอ : คือ จริงๆพี่กะว่าจะไปหาที่เรียนปริญญาโทต่อเหละ แต่ค่าใช้จ่ายมันสูงพี่เลยกลับมาเรียนที่เมืองไทยดีกว่า

ผู้สัมภาษณ์ : อย่างนั้นแสดงว่าตอนนี้พี่โอเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยใช้ไหมครับ

พี่โอ : ถูก.........
คือตอนนี้พี่ไม่ได้ทำงานในบริษัท แต่ เป็นสถาปนิกอิสระในนาม Oni Studio รับงานออกแบบสถาปัตยกรรมทั่วไปอยู่


ผู้สัมภาษณ์ : แล้วรูปแบบของงานที่พี่โอทำอยู่อะครับ

พี่โอ : ออกแบบงานสถาปัตยกรรมทั่วไป ทำพรีเซนต์เตชั่นทั่วไป การควบคุมงานก่อสร้าง

ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่โอคิดว่าการเป็นสถาปนิกนั้นอะไรเป็นสิ่งที่ยากลำบากที่สุดและเป็นอุปสรรคในการทำงาน


พี่โอ : การทำความเข้าใจในเรื่องแบบ ระหว่าง ความต้องการของเจ้าของบ้าน แนวทางการออกแบบของสถาปนิก กับ ช่างหรือผู้รับเหมาที่ทำการก่อสร้าง เนื่องจากเมื่อช่างหรือผู้รับเหมา เห็นว่าเป็นเด็กและมีอายุน้อยกว่า มักจะมีการข่ม และบางครั้งอาจไม่ปฎิบัติตามที่เราต้องการ จนเกิดปัญหาในการตรวจรับ และ ส่งงานกับทางเจ้าของโครงการได้


ผู้สัมภาษณ์ : แล้วพี่โอยึดหลักอะไรในการปฎิบัติงาน


พี่โอ : การตรงต่อเวลา และ ความรับผิดชอบ มีความสำคัญมากกว่า แบบที่พรีเซนต์สวยงาม


ผู้สัมภาษณ์ :ผมดูจริงจังไหมครับพี่...............อย่างนั้นผมขอเข้าคำถามสำคัญแล้วนะครับพี่


พี่โอ : ว่ามาได้เลยครับ


ผู้สัมภาษณ์ : พี่โอมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับอนาคตของวงการสถาปนิกในเมืองไทยครับ ผมขอแบบในมุมมองของพี่โอนะครับ


พี่โอ : วงการสถาปนิกไทย เริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม รวมถึงตัวเองด้วย เคยมีความคิดว่าสถาปนิกที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น คือสถาปนิก ที่ทำพรีเซนต์ สวย perspectivr เว่อๆ แต่เมื่อได้ทำงานในสายงานก่อสร้าง พบว่าแบบที่สวยๆเหล่านั้นมักมีปัญหาต่างกับ สถาปนิกที่มีประสบการณ์การทำงานที่สูงกว่า หรือ มีอายุหน่อย พบว่า สถาปนิกในสมัยก่อนมีความรู้และความเข้าใจ ทั้งในด้านความงามและ เทคนิคการก่อสร้าง รวมถึง มีความเข้าใจในด้านวัสดุศาสตร์เป็นอย่างมากทำให้เมื่อนำแบบไปก่อสร้างจึงไม่ค่อยพบปัญหาในการก่อสร้างเท่าใด และเมื่อมีโอกาสได้ศึกษา ประวัติการศึกษาการทำ
งานของสถาปนิกที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า สถาปนิกเหล่านั้น มีพื้นฐานและความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบ การก่อสร้าง
และ มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ งานสถาปัตยกรรมนั้นๆเป็นอย่างดี ซึ่งจุดนี้คิดว่าวงการสถาปนิกไทยในปัจจุบันเริ่มมีทิศทางที่เริ่มห่างจากตรงนี้
ไป



ผู้สัมภาษณ์: ขอบคุณมากครับพี่ที่เสียเวลาตอบคำถามของผมมาทั้งหมดครับ


แล้วต่อไปผมก็จะขอพาไปชมผลงานต่างบางส่วน.....ของสถาปนิกหนุ่มผู้นี้กันนะครับ



ควบคุมงานก่อสร้างหอพักแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ-สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

งานออกแบบตกแต่งภายใน บ้านแอร์ออคิด พุทธมณฑล สาย 4




ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง บ้านพักอาศัย 2 ชั้น พระรามเจ็ด กรุงเทพ

Oni Studio ............

วันนี้กระผม นายพัชร อติรัตน์ ขอจบบทความการสัมภาษณ์พี่โอเพียงเท่านี้ สวัสดีครับ

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


ประวัติความเป็นมา พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท



พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งสำคัญองค์หนึ่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2419 เพื่อเป็นที่รองรับพระราชอาคันตุกะ ชั้นพระราชาธิบดี หรือชั้นประมุขของรัฐ เดิมมีพระที่นั่งต่างๆต่อเนื่องกันรวม 11 องค์
ปัจจุบันมีอยู่เพียง 3 องค์ คือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมิเทวราชอุปบัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จ้างสถาปนิกชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ ชื่อ มิสเตอร์ ยอน คลูนิช ทำหน้าที่เป็นนายช่างออกแบบถวายตามพระราชดำริ โดยสร้างตามแบบอย่างศิลปกรรมตะวันตก มีหลังคากลมซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

กราบบังคมทูลพระกรุณาว่าสมควรสร้างเป็นปราสาทจึงจะเหมาะสม เพราะเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างปราสาทเรียงกัน 3 องค์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสร้างอยู่แล้ว 2 องค์ คือ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน กับ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้การสร้างพระมหาปราสาทนั้นถือกันมาแต่โบราณว่า เป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ทรงสร้างด้วย จึงมีพระราชดำริเห็นชอบและโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยองค์พระที่นั่งเป็นแบบตะวันตกแต่ส่วนหลังคาเป็นแบบไทย และเสด็จยกยอดปราสาทใน พ.ศ.2421 มีการเฉลิมพระราชมนเฑียรใน พ.ศ.2425 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ภาพบรรยากาศในวันที่ผมไปเข้าชม
ช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปฏิรูปบ้านเมืองมีพระบรมราโชบายในการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยประเทศ การออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จึงสอดคล้องกับธรรมเนียมนิยมแห่งอารยะประเทศ เช่น มีห้องทรงพระอักษร ห้องเสวยพระสุธารสกาแฟ ห้องพระราชทานเลี้ยง ห้องรับรองแขกเมือง ฯลฯ
พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่เก็บพระอัฐิของพระมหากษัตริย์และพระมเหสี เป็นที่เสด็จออกให้เข้าเฝ้า หรือรับรองแขกผู้มีเกียรติ ภายในพระที่นั่งเป็นที่ประดิษฐานของ พระที่นั่งพุดตานถม ซึ่งเป็นพระราชอาสน์ราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท องค์พระที่นั่งทำด้วยไม้หุ้มเงินถมลงยาทาทองซึ่งเรียกว่า ถมตะทอง นับได้ว่าเป็นเครื่องถมทองชิ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทยังเป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นครั้งแรกอีกด้วย ด้วยเหตุที่ว่ากรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ได้ทอดพระเนตรเห็นแสงไฟฟ้านั้นที่ประเทศทางตะวันตก
และมีพระราชประสงค์ที่จะมาใช้ในประเทศไทย

ภาพด้านหน้าในปัจจุบัน

ภาพผังแสดงแผนผังหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

แผนผังหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในสมัยรัชกาลที่ 5
1. ท้องพระโรงหน้า
2. ท้องพระโรงกลาง
3. ท้องพระโรงหลัง
4. มุขกระสันตะสันออก
5. ห้องไปรเวท
6. มุขกระสันตะวันตก
7. ออฟฟิสหลวง
8. อ่างแก้ว
9. พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ( ห้องโต๊ะ )
10. พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ( ห้องทอง )
11. พระที่นั่งดำรงสวัสดิอนัญวงศ์ ( ห้องผักกาด )
12. พระที่นั่งพิพัฒน์พงศ์ถาวรวิจิตร ( ห้องพระภูษา )
13. พระเฉลียง
14. ห้องน้ำเงิน
15. ห้องเหลือง
16. ห้องเขียว
17. พระที่นั่งอมรพิมานมณี
18. พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์
19. พระที่นั่งบรรณาคมสรณีย์
20. พระที่นั่งราชปรีดีวโรทัย
21. พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร
22. สวนสวรรค์

พระที่นั่งองค์ต่าง ๆในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
๑.พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ภายในพระที่นั่งได้ประดิษฐานสิ่งที่สำคัญ คือ
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันออก (ชั้นกลาง) เป็นห้องสำหรับสมเด็จพระมหากษัตริย์เสด็จออกรับแขกไปรเวตมีรูปหมู่ใหญ่ เป็นพระรูปสมเด็จพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินีรัชกาลที่ ๕ พร้อมด้วยพระราชโอรสธิดา รูปนี้เป็นรูปสีน้ำมันเขียนที่ประเทศอิตาลี


มุขกะสันตะวันออก (ชั้นกลาง)
ที่ผนังติดพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ แห่งพระรัตนโกสินทร์ เขียนด้วยสีน้ำมันขนาดใหญ่ อยู่ในกรอบปิดทอง


พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์กลาง (ชั้นกลาง)
ท้องพระโรงหน้า มีพระรูปสมเด็จพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายหน้าที่ทรงคุณประโยชน์แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

-พระที่นั่งพุดตานถม ปักพระมหาเศวตฉัตรเก้าชั้น สองข้างพระที่นั่งพุดตานถมซ้ายขวาตั้งเศวตฉัตรเจ็ดชั้น

-พระที่นั่งพุดตานถมนี้ พระยาเพ็ชรพิชัย (จีน) ทำให้รัชกาลที่ ๕ สำหรับเป็นที่นั่งราชาอาสน์ราชบัลลังก์ประจำ

-ผนังด้านตะวันออก ติกภาพเขียนสมัยรัชกาลที่ ๔ เสด็จออกรับเซอรยอนบราวริงอัครราชฑูตอังกฤษ เฝ้าถวายพระราชสาสน์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในรัชกาลที่ ๔ (คือองค์เก่าที่รื้อเสียแล้ว)
๒.พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ (ห้องโต๊ะ)
ภาพห้องสำหรับพระราชทานเลี้ยง
เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ด้านตะวันออก ใช้เป็นห้องสำหรับพระราชทานเลี้ยง พระที่นั่งองค์นี้อยู่ต่อกับท้องพระโรงกลางของหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางทิศตะวันออกพระที่นั่งองค์นี้มีความหมายว่า “ เป็นที่ประทับเมื่อขึ้นครองราชย์ “พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นห้องสำหรับพระราชทานเลี้ยงในงานต่างๆจึงเรียกว่า“ห้องโต๊ะ“เพดานห้องทำเป็นลายมงคล8ประการคือ สังข์ , จักร , ตะบอง , บ่อน้ำ , ลูกโค , กรอบหน้า , ธง และ ขอ ต่อมาพระที่นั่งองค์นี้ชำรุดทรุดโทรมมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อลงและสร้างพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์องค์ใหม่ขึ้นแทน แต่ยังจัดเป็นห้องพระราชทานเลี้ยงเช่นเดิม
๓.พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ (ห้องทอง)
พระที่นั่งองค์นี้อยู่ต่อกับท้องพระโรงกลางของหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาททางทิศตะวันตก ที่เฉลียงดานหน้าพระที่นั่งองค์นี้มีอ่างน้ำพุซึ่งเรียกกันมาแต่เดิมว่า “ อ่างแก้ว “ นามของพระที่นั่งองค์นี้มีความหมายว่า “ เป็นที่ซึ่งพระองค์ เสด็จพระราชสมภพ “ ต่อมาใน พ.ศ. 2430 โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนเป็นห้องเสวย นอกจากนั้นในบางครั้ง เจ้านายฝ่ายในบางพระองค์ยังเสด็จมาประทับชั่วคราว และพระที่นั่งองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศกระแสพระราชดำริ ในอันที่จะให้มีการเลิกทาส ณ ท่ามกลางที่ประชุมคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 ต่อมาพระที่นั่งองค์นี้ชำรุดทรุดโทรดมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้รื้อลง และสร้างพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ องค์ใหม่ขึ้นมาแทน
๔.พระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์ (ห้องผักกาด)
พระที่นั่งองค์นี้อยู่ต่อจากพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ทางทิศตะวันตกมีการตกแต่งด้วยเครื่องลายคราม มีนามเป็นการภายในว่า “ ห้องผักกาด “ บางครั้งใช้เป็นห้องเสวย กาแฟ เมื่อมีงานพระราชทานเลี้ยงใหญ่ ระหว่างพระที่นั่งองค์นี้กับพระที่นั่งราชปรีดีวโรทัยเป็นที่พักของหมอหลวงซึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้เข้ามาอยู่เมื่อทรงพระประชวร
๕.พระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร (ห้องพระภูษา)
พระที่นั่งองค์นี้อยู่ต่อจากพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ทางทิศตะวันออก พระที่นั่งองค์นี้เป็นห้องพระภูษา ( เครื่องแต่งตัว ) ของพระมหากษัตริย์ มีเกยสำหรับส่งพระกรพระองค์เจ้านายฝ่ายใน ในพระราชพิธีโสกันต์
หลังจากที่โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแล้ว ในระหว่าง พ.ศ. 2425 - 2430 ก็ได้โปรด ฯ ให้สร้างพระที่นั่งเพิ่มขึ้นที่ด้านหลังของ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร ในเขตพระราชฐานชั้นในอีก 4 องค์ คือ พระที่นั่งอมรพิมานมณี เป็นที่วิมานบรรทม , พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ , พระที่นั่งบรรณาคมสรณีย์ เป็นห้องทรงพระอักษร และ พระที่นั่งราชปรีดีวโรทัย เป็นที่พักผ่อนพระราชอิริยาบถ นอกจากนั้นยังโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง " สวนสวรรค์

๖.พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

เพดานภายในห้องเหลือง พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
เป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ บางครั้งใช้เป็นสถานที่รับรองแขก
๗.พระที่นั่งอมรพิมานมณี


พระที่นั่งบรรณาคมสรณีย์ (ด้านซ้าย) และ พระที่นั่งอมรพิมานมณี (ด้านขวา )

เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากพระเฉลียงด้านหลังพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
๘.พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์
เป็นห้องประทับสมเด็จพระอัครมเหสี อยู่ด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
๙.พระที่นั่งบรรณาคมสรนี
เป็นห้องทรงพระอักษร อยู่ด้านตะวันตกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี


๑๐.พระที่นั่งปรีดีราชวโรทัย
เป็นห้องพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ต่อจากพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร


๑๑.พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร
เป็นห้องสมเด็จพระราชโอรสและสมเด็จพระราชธิดา ทางด้านเหนือของพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร


เดินทางสู่วัดพระแก้ว
วันที่ผมเดินทางไปนั้นเป็นวันอาทิตย์ ที่ 18 กันยายน ผมจำไม่ได้ว่ามาเที่ยวที่วัดพระแก้วครั้งสุดท้ายเมื่อไรแต่น่าจะนานมากแล้ว

ความรู้สึกแรกที่ไปถึงคือไม่ค่อยมีคนไทยมาเที่ยวที่นี้เท่าไรนัก ส่วนมากจะเป็นชาวต่างชาติ

ถ้าเป็นคนไทยส่วนมากก็จะเป็นนักศึกษา ที่มาเป็นทัวร

เมื่อผมไปถึง ผมก็ได้เดินชมรอบๆวัด แต่ช่วงนี้เหมือนมีการซ่อมแซมในหลายๆจุดอยู่ บางสว่นบางพื้นที่จึงมีการปิดไม่ไห้เข้าชม

และผมก็เดินมาถึง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ผมได้เข้าไปเดินชมพิพิธภัณฑ์อาวุธ ซึ่งรวบรวมอาวุธประจำรัชกาลและมีการจัดรูปแบบการนำเสนอไว้อย่างน่าสนใจ มีปืนรูปแบบต่างๆไว้มากมายแต่ภายในั้นเข้าห้ามถ่ายภาพ ผมจึงไม่มีรูปภาพมาฝากและผมก็ได้เดินชมส่วนต่างต่อ จนทั่ว รูปแบบอาคารนั้นความสวยงามในแบบไทยแท้ผสมผสานกับรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกและมีความลงตัวในการออกแบบมาก


บริเวณทางขึ้นอาคารนั้นทีการนำทหารรักษาพระองค์มายืนไว้ให้ถ่ายรูปคู่กับนักท่องเที่ยวด้วย



ก่อนเดินทางกลับก็ได้ถ่ายถาพไว้เป็นที่ระลึกเป็นรูปสุดท้าย
สุดท้ายขอขอบคุณ
-พี่ๆ ในพระที่นั่งที่ให้ขอมูลผม
-เพื่อนๆที่ไปเป็นเพื่อน
-ประเทศไทยที่มีสิ่งที่สวยงามและมีคุณค่าทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์










































วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เริ่มแรก

.......เริ่มแรก


ในความคิดตอนนั้น ผมคิดแค่ว่าโตไป ผมต้องการอยู่บ้านที่ผมออกแบบเองมันต้องไม่ซ้ำกับบ้านใคร บ้านผมต้องสวยที่สุด มันเลยทำให้ผมมีความคิดอยากเรียนคณะสถาปัตยกรรมนี้มาตั่งแต่ ม.4
ผมต้องเอนทรานซ์เข้าคณะ สถาปัตยกรรมเท่านั้น
ครั้งแรกที่รู้จักคำว่า อาชีพสถาปนิกนั้น ผมเข้าใจความหมายมันว่า วัน วัน นึงคงได้แต่ออกแบบบ้าน

อาคารตึกสูงๆเท่ ขีดๆเขียนๆ ทั้งวัน นั้นทำให้ผมมีความคิดว่าผมคงน่าจะมีความสุขกับการที่ได้เรียน
คณะสถาปัตยกรรม และผมก็ตัดสินใจเดินมาทางสายนี้อย่างเต็มตัว
วันแรกที่ผมเข้าเรียนที่นี่
ที่คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ภาควิชา สถาปัตยกรรม โครงการผลิตบัณฑิตภาคพิเศษ ผมได้เข้ามาเจอสิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อนใหม่ การทำงานหนักที่ผมไม่เคยพบมาก่อน การนอนดึก
การช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อน กับสิ่งที่เราคิดว่ารู้แล้วว่ามันเป็นอย่างไรในตอนแรก เมื่อได้เข้ามาสัมผัส ผมก็รู้ว่าสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้มาแล้วนั้น มันมีสิ่งที่ผมคิดไม่ถึงอีกมาก ที่ๆผมได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้นั้น

วิชาต่างๆที่ผมเรียนรู้นั้น ผมได้อะไรบางอย่างจากการที่ได้เรียนรู้มันผมรู้สึกว่ามันมีอะไรที่ซ่อนอยู่ในเนื้อหา
ที่เรากำลังเรียนอยู่เพื่อที่เราจะสามารถเอาไปใช้ในการดำเนินชีวิตในอนาคต
มันซ่อนอยู่ในการตรวจแบบ การทำโปรเจควิชาต่างๆส่ง เวลาเรานั่งใช้สมาธิคิดแบบ

เวลาที่เราทำแบบไม่ทันส่ง เวลาที่อาจารย์ คอมเม้นงานเรา
ผมรู้สึกได้ว่ามันมีอะไรซ่อนอยู่ในนั้นที่เป็นประโยชน์กันตัวเราในวันข้างหน้า
เพื่อนๆทั้งภาคเดียวกัน หรือต่างภาคกัน ก็มีสิ่งใหม่ๆให้ผมได้เรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งเรื่องในห้องเรียน และการร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆด้วยกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทำให้ผมรู้ว่าอาชีพสถาปนิกนั้น

มันเป็นอาชีพที่ต้องคุยกัน ถกปัญหาที่เกิดขึ้นกัน
เอาความรู้ หรือความคิดเห็นตัวเองที่มีนั้น มาแสดงออกต่อกัน แต่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
การฝึกให้เรายอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

และหลังจากวันนี้
จากอาชีพสถาปนิกที่เราเข้าใจว่าสามารถทำงานคนเดียวได้ อยากทำอะไรก็ทำ

ถ้าคิดว่าสวยแล้วก็ทำไปเลยนั้นมันไม่ใช่ เราต้องนึกถึงความเหมาะสม
ความถูกต้องต่อสังคม อะไรที่จะตามมาหลังจากการสร้างสิ่งปลูกสร้างชนิดนี้ขึ้นมาบนโลก
มันส่งผลอะไรบ้างต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ส่งผลในทางที่ดี หรือไม่ดี
ทำให้รู้ว่าบทบาทของสถาปนิกนั้นไม่ได้ทำงานแค่การ นั่งโต๊ะ เพื่อออกแบบ
ขีดๆเขียนๆเพื่อสร้างงานสวยๆไปวันๆ
แต่มันเป็นอาชีพที่กำหนด ว่าอนาคตนั้น...........
สภาพการเป็นอยู่ของคน สิ่งแวดล้อม ชุมชนดั่งเดิม กับชุมชนใหม่จะอยู่ร่วมกันบนโลกได้ไหม
การขยายตัวของเมือง ในอนาตดนั้นจะเป็นอย่างไรและ สถาปนิกนั้นมีหน้าที่อะไรอีกบ้าง

นอกจากการออกแบบ หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์


มันทำให้ผมมีความคิดว่าการเป็นสถาปนิกนั้น ต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆตลอดเวลา
เอาความรู้ที่เราได้เรียนมา ในช่วงเวลา4ปีกว่าที่ผ่านมา
เป็นพื้นฐานของความรู้ เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวความรู้เพื่อเติมต่อไปเรื่อยๆ
และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงอายุของสถาปนิกเอง
และฝึกตัวเองให้เป็นสถาปนิกที่ดี ในอนาคตให้ได้ ถึงแม้ว่าทุกวันนี้เอง

ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรได้ดีนัก
เพราะโลกที่ผมเลือกที่จะมาเรียนรู้นั้นมันกว้างเหลือเกิน
มันทำให้ผมรู้สึกตัวเล็กมาก



แต่ผมก็จะพยายามต่อไป………………………………………………..